ปรึกษาปัญหาชีวิต (สำหรับเจ้าของกระทู้)

เลิกนิสัยโกหก
รายละเอียด
คือ ดิฉันเป็นคนที่แบบ เมื่อตอนเด็กๆ คือชอบโกหกมาก แล้วพอโตก็เริ่มรู้ตัวว่ามันไม่ดี ก็เลยตั้งใจจะเลิก แล้วก็อยากเลิกมากนิสัยแบบนี้ แต่คือมันเหมือนกับว่า แทบทุกครั้งท่มีคนมาคั้นคำตอบ หรือว่าอื่นๆ ดิฉันจะตอบโกหกออกไป คือมันเหมือนว่ามันติดปากแล้ว แม้ไม่ว่า เขาจะจับได้หรือไม่ได้ก็ตาม ดิฉันก็ต้องมานั่งทุกข์ ไม่สบายใจอยู่คนเดียว เลยไม่อยากโกหกอีกแล้ว แต่มันก็ห้ามไม่ทันปากตัวเองเสียที แล้วรู้สึกผิดกับทุกคนที่ดิฉันโกหกออกไปจริงๆ อย่างเมื่อล่าสุด เพิ่งโกหกเพื่อนร่วมงาน มา และดิฉันคิดว่าพวกเขาคงจะจับได้กัน ด้วยความที่ไม่อยากเสียเพื่อนร่วมงาน และใครอีกหลายๆ คนในอนาคตหากฉันยังไม่เลิกนิสัยนี้ เสียไป ดิฉันคิดว่าควรเลิกแบบจริงจังเสียที
ความต้องการ
- อยากเลิกโกหก - ควรรับมือกับความรู้สึกผิดแบบนี้อย่างไรดี - ควรทำอย่างไรกับคนที่ดิฉันได้โกหกเขาออกไป
ชื่อผู้ถาม
none
วันที่เขียน
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 18:34:28
จำนวนคนเข้าดู
2948

คำตอบ

คำตอบที่ 1
การโกหก อาจมี 2 ลักษณะ
โกหกแบบรุก หรือ โกหกแบบรับ ?
โกหกแบบรุก คือ การโกหกด้วยประโยคบอกเล่า เราไปเล่าอะไรให้ใครฟังทั้งที่อาจไม่รู้ข้อเท็จจริงนั้นๆ หรือรู้ทั้งรู้ว่าไม่จริง
โกหกแบบรับ คือ การโกหกด้วยประโยคบอกเล่าเหมือนกัน แต่จะโกหกก็ต่อเมื่อมีใครมาถาม แล้วตอบเค้าไปโดยไม่ใช่ความจริง

จำแนกได้อีก  ว่าโกหกด้วยเจตนาอะไร เราเจตนาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองหรือส่วนรวม

ความรู้สึกผิดที่เกิด เกิดจาก เราเห็นคนที่เราโกหกเดือดร้อน หรือ เราเองที่เดือดร้อนจากการโกหกนั้น

อย่ายึดมั่นตัวเอง ให้กล้าหาญ ลองทำอะไรตรงไปตรงมา การอยู่บนสภาพจริงๆที่เราคิด ที่เราเป็น อาจจะรู้สึกเบาสบายกว่า การทำผิด หรือ ไม่ได้ทำตามใจใคร ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ดี เกิดมาครั้งเดียว จงมีอิสระกับชีวิตของเรา ผิดก็ยอมรับ ไม่อยากทำก็บอกไป รู้ไม่จริงก็อย่าพูด หรือจะพูดอะไรไม่แน่ใจก็เงียบก่อน ใช้คำว่า ไม่รู้ ก่อนก็ได้ ไม่รู้ไม่ชี้ยังดีกว่าไม่รู้แล้วชี้

ส่วนความรู้สึกผิด ถ้าเราไม่ได้โกหก เรายอมรับว่าเราไม่รู้ เราไม่ปริปากพูด ถ้ารู้ไม่จริง ความรู้สึกนั้นก็ไม่เกิด ส่วนถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว ก็ไปขอโทษ อธิบายให้เค้าเข้าใจ ถ้าเค้ายังเคือง ก็ปล่อยเค้า รับผลของมัน แล้วอย่าทำอีก

 
ชื่อผู้ตอบ
อาจารย์ผู้ให้คำปรึกษา 299
วันที่เขียน
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 08:55:50
ทั้งหมด 1 รายการ
1 / 1
อ่านป้ายฉลากยา 10,000 รอบ แต่ไม่กินยา มันก็คงรักษาโรคอะไรไม่ได้
เช่นกัน แม้ว่าจะอ่านหนังสือ 10,000 เล่ม ฟังเทศน์ 10,000 เรื่อง ปรึกษาผู้รู้ 10,000 คน ประโยชน์ก็มีเพียงน้อยนิด
หากเราไม่ลงมือทำ ไม่ลงมือปฏิบัติ ไม่พยายามทำ การมัวแต่คิดอยากให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ไปเฉยๆ จะมีผลสำเร็จอะไร