ปรึกษาปัญหาชีวิต (สำหรับเจ้าของกระทู้)

จะบาปหรือไม่คะ ถ้าจำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์มาทำพิธีตักบาตรและถวาย
รายละเอียด
ทำไมในพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีถวายภัตตาหารในงานแต่งงานเช้า ถึงต้องนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 9 รูปด้วยคะ
ความต้องการ
อยากสอบถามว่า หากงานแต่งงานของเรา จะนิมนต์พระสงฆ์ไม่ถึง 9 รูป จะบาปหรือไม่คะ คือดิฉันสงสัยมากและมีคำถามอยู่ในใจว่า ทำไมถึงต้อง 9 รูป หากมีพระสงฆ์น้อยกว่านั้น ดิฉันก็จะได้บุญน้อยไปด้วยหรือป่าวคะ หากดิฉันต้องการจัดงานแบบเรียบง่าย และตั้งใจจะทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแต่พระสงฆ์ไม่น้อยไปกว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวที่ได้ทำบุญกับพระสงฆ์ 9 รูป ดิฉันจะตกนรกหมกไหม้ไม่ได้ผุดไม่ได้เกิด หรือว่าไม่ได้รับความมงคลในชีวิตไปตลอดหรือป่าวคะ
ชื่อผู้ถาม
ธัญมน
วันที่เขียน
19 มิถุนายน พ.ศ. 2561 08:49:32
จำนวนคนเข้าดู
698

คำตอบ

คำตอบที่ 1
ไม่เกี่ยวกันเลย เราจะทำบุญอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ จะนิมนต์พระกี่รูป 1 รูป 2 รูป 3 รูป 9 รูป 100 รูป 1000 รูป แล้วแต่กำลังและความสามารถของเรา ประเพณีพิธีกรรมพวกนี้ เขามากำหนดทีหลังทั้งนั้น ไม่มีสาระสำคัญอะไรที่จะต้องไปยึดติด อย่ามายึดติด เมื่อไม่ยึดติด ก็จะไม่คิดมาก ไม่เครียด ไม่กังวล เมื่อคนอื่น ๆ พูดไม่เหมือนกับที่เราคิด เราทำ การทำบุญ มันก็ดีอยู่แล้ว เราทำแค่ไหน อย่างไร อยู่ที่ความศรัทธา ความพร้อมและกำลังของเรา ไม่เกี่ยวกับเสียงพูดของใคร ๆ ไม่เกี่ยวกับประเพณีอะไรเลย นิมนต์พระมากหรือน้อย ไม่เป็นบาปอะไรเลย จงเชื่อมั่นได้ หากชีวิตเราดำเนินตามหลักธรรมเหล่านี้ ไม่ตกนรกหรอก อย่าไปกลัว ๑. การไม่คบคนพาล (คนไม่มีศีล) ๒. การคบบัณฑิต (คนมีศีล) ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา (บูชาบัณฑิต) ๔. การอยู่ในสถานที่เหมาะสม ๕. การทำความดี ๖. การดำรงตนถูกต้องไม่เอนเอียง ๗. การศึกษาเล่าเรียนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง (พหูสูต) ๘. การฝึกตนให้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ ๙. การฝึกตนให้มีวินัยมั่นคง ๑๐. การพูดคำอ่อนหวาน ๑๑. การเลี้ยงดูบิดามารดาเป็นอย่างดี ๑๒. การเลี้ยงดูบุตรเป็นอย่างดี ๑๓. การเลี้ยงดูภรรยาเป็นอย่างดี ๑๔. การไม่ผลัดวันผลัดคืนในการทำงานต่าง ๆ ๑๕. การเสียสละแบ่งปัน (ทาน=การให้) ๑๖. การประพฤติธรรม ๑๗. การช่วยเหลือญาติ ๑๘. การทำงานที่ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ๑๙. การไม่ทำบาป ๒๐. การไม่ดื่มน้ำเมาไม่เสพสารมึนเมา ๒๑. ความไม่ประมาท (ไม่ขาดสติ/ไม่มัวเมา) ในสิ่งต่าง ๆ (เช่น กาลเวลา อายุ วัย บุคคล สถานที่ ฯลฯ) ๒๒. การมีความนอบน้อมไม่ถือตัว ๒๓. การถ่อมตนไม่โอ้อวด ๒๔. การสันโดษ (พึงพอใจในสิ่งต่าง ๆ ตามศักยภาพที่ตนเองหาได้/ทำได้) ๒๕. การมีความกตัญญูต่อบุคคลผู้มีพระคุณ ๒๖. การฟังธรรมะ ๒๗. การมีความอดทน (อดทนต่อคำพูด/การกระทำของคนอื่น ๆ อดทนในการทำงาน อดทนต่อสภาพแวดล้อม) ๒๘. การเป็นคนที่สามารถบอกสอนได้ง่าย ไม่ดื้อรั้น ไม่โกรธคนที่มาบอกสอน ๒๙. การพบปะพระสมณะ ๓๐. การพูดคุยสิ่งที่ถูกต้องตามธรรม ๓๑. การฝึกจิตเพื่อทำลายล้างกิเลสของตน ๓๒. การประพฤติพรหมจรรย์ (การไม่มีคู่ครอง/การบวชเป็นพระภิกษุ) ๓๓. การเห็นความจริงแท้ของสรรพสิ่ง (อริยสัจ 4) ๓๔. การปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุพระนิพพาน ๓๕. การไม่หวั่นไหวในโลกธรรม (มั่นคง ไม่หวั่นไหว เมื่อได้อย่างที่ตัวเองต้องการ ,เมื่อเกิดการสูญเสีย, เมื่อมีชื่อเสียงมียศ, เมื่อเสียชื่อไม่มียศ,เมื่อสบาย,เมื่อประสบทุกข์, เมื่อได้รับคำสรรเสริญเยินยอ,เมื่อได้รับการนินทา) ๓๖. จิตไม่เศร้าโศก ๓๗. จิตสะอาดจากกิเลส ๓๘. จิตบริสุทธิ์งดงาม (เกษม) ดูประกอบ https://buddhisthotline.com/index.php?page=frmnews6&newsid=316
ชื่อผู้ตอบ
อาจารย์ผู้ให้คำปรึกษา 99
วันที่เขียน
19 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:26:41
คำตอบที่ 2
ชีวิตของเรา ไม่ว่าจะด้านดีหรือไม่ดี ก็เป็นบทเรียนให้คนอื่นได้ ชีวิตคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นด้านดีหรือด้านไม่ดี ก็เป็นบทเรียนให้เราได้ มันอยู่ที่ว่า เรารู้จักมองไหม เขาคนนั้นรู้จักมองไหม ตา มองให้เห็นจริง หู ฟังให้ได้ยินจริง ร่างกายสัมผัส ให้รู้จริง ๆ ธรรมะมีอยู่ทุกที่ ทุกลมหายใจเข้าออกของคนเรา ธรรมะ เป็นของฟรี ไม่ต้องซื้อ ขายให้กันไม่ได้ แค่เราใช้จิตของเราลงทุน ตั้งใจ ฝึกหัดและสร้างมันขึ้นมาในจิตของเรา คนอื่นยกธรรมะให้เราไม่ได้ ไม่มีใครสร้างธรรมะให้ใครได้ เราต้องฝึกเองทำเอง เหล่านี้คือธรรมะ สติ รู้ตัวจริงทุกขณะ ทุกอิริยาบถ สมาธิ ตั้งมั่นจริง ปัญญา รู้จริง วิริยะ ลุยทำจริง ขันติ อดทนได้จริง เมตตา รักชีวิตอื่นจริง กรุณา ช่วยเหลือชีวิตอื่นจริง มุทิตา ชื่นชมชีวิตอื่นจริง อุเบกขา ยึดหลักเที่ยงธรรมได้จริง แต่ละวัน ฝึกจิตตัวเอง ให้มั่นคง คล่องแคล่ว ว่องใจ แจ่มใสในธรรมะ ฝึกจิตให้เป็นอิสระ ไม่ให้จิตเป็นทาสของสิ่งเหล่านี้ " ความเหงา เศร้า ว้าเหว้ ซึม ท้อแท้ เสียใจ น้อยใจ เครียด แค้น เคือง จองเวร ผูกเวร คับแค้น โกรธ หงุดหงิด โมโห เก็บกด อิจฉา ริษยา เพ้อ ร้องไห้ คร่ำครวญ อยากตาย ไม่อยากอยู่ วิตก ฟุ้งซ่าน เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ มักมาก หลงติด เสพติด ยึดติด ถือตัว กระด้าง เกียจคร้าน มักง่าย ติดสบาย สำออย สำอาง" Print เอกสารนี้ แล้วอ่านทุกวัน ฝึกทุกวันทุกเช้าเย็น ทำต่อเนื่องไป 9 เดือนเป็นอย่างน้อย นี่คือวิธีการปรับเปลี่ยนระบบความคิดและพฤติกรรมของตนเอง ไปสู่ความก้าวหน้าและความสุขสูงสุดในชีวิต ดาวน์โหลด https://www.buddhisthotline.com/download/buddhisthotline-lifeway.pdf
ชื่อผู้ตอบ
อาจารย์ผู้ให้คำปรึกษา 99
วันที่เขียน
19 มิถุนายน พ.ศ. 2561 09:28:47
ทั้งหมด 2 รายการ
1 / 1
อ่านป้ายฉลากยา 10,000 รอบ แต่ไม่กินยา มันก็คงรักษาโรคอะไรไม่ได้
เช่นกัน แม้ว่าจะอ่านหนังสือ 10,000 เล่ม ฟังเทศน์ 10,000 เรื่อง ปรึกษาผู้รู้ 10,000 คน ประโยชน์ก็มีเพียงน้อยนิด
หากเราไม่ลงมือทำ ไม่ลงมือปฏิบัติ ไม่พยายามทำ การมัวแต่คิดอยากให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ไปเฉยๆ จะมีผลสำเร็จอะไร